วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

รายชื่อวิทยานิพนธ์


 เรื่อง  ความสัมพันธ์การทำงานเป็นทีมของครูและบุคลากรทางการศึกษากับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในโรงเรียน 
 สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3


keyword: ครู.
Classification :.DDC: วพ371.1
Description
Abstract: กาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้1) เพื่อศึกษาสภาพการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่
การศึกษา ขอนแก่น เขต 3 ตามตัวแปรตำแหน่งหน้าที่ และระดับการจัดการศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ของการทำงานเป็นทีมของครูและบุคลากรทางการศึกษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนัก
งานเขตพื้นที่การศึกษา ขอนแก่น เขต 3 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 320 คน 
แยกเป็น ผู้บริหารจำนวน 117 คน ครูผู้สอน จำนวน 203 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป คำนวณหาค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์หา
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
Publisher   มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. ศูนย์วิทยบริการ
Address: เลย
Email: library@lru.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date
Modified: 2554-03-11
Issued: 2554-03-06
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
Source
CallNumber: วพ371.1
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

*******************************************************************************************************************
Title Alternative
สภาพการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2Title
Team work in expanding educational opportunities school. Under the Office of Roi-Et Primary

Description
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการทำงานเป็นทีมตาม ความคิดเห็นของครูและผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจำแนกตามตำแหน่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 3) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน 4) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางในการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ครู จำนวน 306 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 76 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ เครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับของลิเคิร์ท (Rating scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูและผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 สภาพการทำงานเป็นทีม โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การยอมรับนับถือ รองลงมา คือ ด้านการมีมีปฏิสัมพันธ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการสื่อสารอย่างเปิดเผย 2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการทำงานเป็นทีมของครูและผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำแนกตามตำแหน่ง โดยรวม พบว่า ครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีตำแหน่งต่างกันมีความคิดเห็น แตกต่างกันในด้านการสื่อสารอย่างเปิดเผย ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการมีเป้าหมายเดียวกัน และด้านความไว้วางใจซึ่งกันและกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และพบว่า ครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีตำแหน่งต่างกันมีสภาพ ไม่แตกต่างกันด้านการมีปฏิสัมพันธ์ ด้านการยอมรับนับถือ 3. ผลการเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีมของครูและผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า ครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน 4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการส่งเสริมสภาพการทำงานเป็นทีมของครูและผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 พบว่า ปัญหาในการทำงานเป็นทีมของครูและผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 พบว่า ปัญหา3อันดับแรก คือ 1) ชอบทำงานคนเดียวมากกว่าทำงานเป็นทีม 2) มีความเข้าใจในทิศทางการทำงานไม่ชัดเจน และ 3) ขาดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ส่วนแนวทางการส่งเสริมสภาพการทำงานเป็นทีมของครูและผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 3 อันดับแรก คือ 1) ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสเพื่อร่วมกันพัฒนาด้านต่างๆ 2) ในโรงเรียนสามารถตรวจสอบข้อสงสัยได้อย่างเปิดเผยทุกขั้นตอน และ 3) ในโรงเรียนควรมีการรับฟังข้อเสนอแนะและปรึกษาเพื่อนร่วมงานอยู่เป็นประจำ
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. ศูนย์วิทยบริการ.
Address: ร้อยเอ็ด
Email: tanasuba@gmail.com
Role: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
Role: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม
Date
Modified: 2557-03-05
Issued: 2557-03-04
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
**********************************************************************************************************************
เรื่อง   การพัฒนาระบบการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Title Alternative
A development of teamwork system of teachers in schools under Hua-Hin municipality office, Prajuabkirikhan province

Organization : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาการพัฒนาระบบการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามสถานภาพในการปฏิบัติหน้าที่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองหัวหิน จำนวน 7 โรงเรียน รวม 116 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการพัฒนาระบบการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (µ = 4.05) และรายด้าน ทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ องค์ประกอบด้านผู้นำกลุ่ม (µ = 4.20) รองลงมาคือ องค์ประกอบด้านการจัดการ (µ = 4.14) และองค์ประกอบด้านสมาชิก (µ = 4.08) ตามลำดับ 2. การพัฒนาระบบการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามสถานภาพ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-45 ปี วุฒิการศึกษาปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงาน 11-15 ปี เมื่อพิจารณาการจำแนกตามสถานภาพ ด้านเพศ อายุ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงาน ที่แตกต่างกัน แต่มีการพัฒนาระบบการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน ที่เหมือนกัน
Abstract: This research aimed to: study of a development of teamwork system of teachers in schools under Education Department of Hua-Hin Municipality, Prajuabkirikhan Province, by status in the performance of gender, age, and education level, and work experience. The population used in this research included 116 teachers in 7 schools under Hua Hin Municipality Office. A 5-rating scale questionnaire was used as a tool for the study. Statistics generated by frequency, percentage, mean, and Standard Deviation. Findings: 1. Levels of the development of teamwork system of teachers in schools under education department of Hua-Hin Municipality, Prajuabkirikhan province in an overall was at a high level (µ = 4.05) and all 3 aspects were at high level: the leadership group (µ = 4.20), the management (µ = 4.14), the composition of the members (µ = 4.08), respectively. 2. The development of teamwork system of teachers in schools under education department of Hua-Hin Municipality, Prajuabkirikhan province, classified by status showed that mostly are female, aged between 31-45 years old, had Bachelor degree, and had experience 11-15 years. Different gender, age, education level graduation, work experience of the population were not significant different in the development of the teamwork system of teachers in the schools.
Publisher
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. สำนักหอสมุดและสารสนเทศ
Address: ปทุมธานี
Email: library@northbkk.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date
Modified: 2559-07-18
Issued: 2559-05-24
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
Source
CallNumber: สพ M.ED. ส351ก 2557
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

รายชื่อวิยานิพนธ์

                                                 
                                                                    บทคัดย่องานวิจัย
            

                ชื่อเรื่อง :     การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู 
                                  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี




                อ้างอิง   อธัญญา พลขาง. (2557) การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา
                    และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี . มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี/ลพบุรี.

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ระบบสารสนเทศในสถานศึกษา



ระบบสารสนเทศในสถานศึกษา
ระบบรายงานผลการบริหารงบประมาณรายจ่านประจำปี ( e-budget )

       1.บทบาทหน้าที่ของระบบระบบรายงานผลการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปี
              สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดให้โรงเรียนทุกโรงเรียนในสังกัด 
        รายงานข้อมูล  รายรับ-รายจ่าย ของโรงเรียนทางเว็ปไซด์  จำนวน 2 ครั้ง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์
        สำหรับการบริหารงบประมาณ
      2.ขั้นตอนการทำงาน
          1. ผู้ใชสามารถเขาสูเว็บไซตโดยใช Google chome ที่ http://e-budget.jobobec.in.th 
       โดยคลิกเมนูคําสั่ง สําหรับสถานศึกษา ใช รหัส per_code ซึ่งเปนเลข 6 หลักของแตละโรงเรียน
       เปนทั้ง Username และ Password และเลอืก ปงบประมาณเปน ปงบประมาณ พ.ศ. 2561 
       แลวคลิกปุมคําสั่งเขาสูระบบ 
          2.เมื่อเข้าสู่เว็บไซต์สำเร็จจะแสดงหน้าการตรวจสอบชื่อโรงเรียน เพื่อยืนยันการใช้งานเมื่อยืนยัน
       ความถูกต้องของโรงเรียนที่จะดำเนินการ เว็บไซต์จะเข้าสู่หน้าหลักการทำงาน
          3.ให้ผู้ใช้คลิกปุ่มคำสั่ง ระบบบัญชีการศึกษาขั้นพื้นฐาน เว็บไซต์จะเข้าสู่หน้าหลักของการ
       ทำงานโครงการพัฒนาระบบการรายงานข้อมูลการเงินด้านการศึกษาของสถานศึกษา (ระบบบัญชีการ
       ศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
          4. เมนูการทำงานครั้งที่ 1 ให้โรงเรียนป้อนข้อมูลทั้ง 5 ส่วน  แถบสีแดงใต้ปุ่มคำสั่ง ส่วนที่ 1 - ส่วนที่ 5
................................................................................................................................................................................... 
      หมายเหตุ : จะเปลี่ยนเป็นที่เขียวเมื่อผู้ใช้ป้อนข้อมูลที่ถูกต้องและบันทึกเข้าสู่ระบบเรียบร้อย
การบันทึกข้อมูล โรงเรียนจะต้องบันทึกข้อมูลจากส่วนที่ 1 ไปตามลำดับไม่สามารถกระโดดข้ามไปยังส่วนอื่น
ได้ แต่กรณีที่ผู้ใช้บันทึกข้อมูลส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 เสร็จเรียบร้อย หากกลับไปแก้ไขในส่วนที่ 1 ใหม่
เว็บไซต์จะปรับสถานะของการรายงานในส่วนที่ 2 และ 3 เป็นยังไม่รายงานโดยอัตโนมัติ เนื่องข้อมูลทั้ง 2 ส่วน
มีความสัมพันธ์กัน
......................................................................................................................................................................................
       5.ข้อมูลที่บันทีก
             การบันทึกข้อมูล : ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน ข้อมูลบุคลากรที่ปฏิบัติงานจริง
             การบันทึกข้อมูล : ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน ข้อมูลบุคลากรที่ปฏิบัติงานจริง
             การบันทึกข้อมูล : ส่วนที่ 3 รายรับของโรงเรียน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
             การบันทึกข้อมูล : ส่วนที่ 4 รายจ่ายของโรงเรียน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
             การบันทึกข้อมูล :ส่วนที่ 4 รายจ่ายของโรงเรียน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
            รายงานเงินคงเหลือ ปีงบประมาณ 2561
            เมนูคำสั่ง : แสดงผล เป็นเมนูคำสั่งแสดงผลการบันทึกข้อมูลของผู้ใช้ในส่วนที่ 1 – ส่วนที่ 5
            ผู้ใช้สามารถพิมพ์รายงานออกทางเครื่องพิมพ์ได้โดนคลิกปุ่มคำสั่ง พิมพ์รายงาน      
   3.องค์ประกอบของระบบ( e-budget )
            กรอกแบบรายงานข้อมูล ประกอบด้วย 4 ส่วน 
            1. รายงานค่าสาธารณูปโภค
            2. ระบบบัญชีการศึกษาขั้นพื้นฐาน                                                                                                         ประกอบ ด้วย 5 ส่วน    
                 ส่วนที่ 1 คือ ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน และข้อมูลบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน
                 ส่วนที่ 2 คือ รายงานเงินคงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน 2560
                 ส่วนที่ 3 คือ รายงานรายรับของโรงเรียน ปีงบประมาณ 2561
                 ส่วนที่ 4 คือ รายงานรายจ่ายของโรงเรียน ปีงบประมาณ 2561
                 ส่วนที่ 5 คือ รายงานเงินคงเหลือ ปีงบประมาณ 2561
            3. รายงานงบดำเนินงาน (ซ่อมแซม)
            4. รายงงานงบลงทุน
              ***ในการกรอกข้อมูลทางโรงเรียนบ้านหนองผือจะกรอกข้อมูลใน 2 ส่วน คืิอ   รายงานค่าสาธารณูปโภค
            ระบบบัญชีการศึกษาขั้นพื้นฐาน เนื่องจากทางโรงเรียนไม่มีงบดำเนินงาน (ซ่อมแซม)และงบลงทุน
    4. การบันทึกข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ระยะ
          ครั้งที่ 1 ช่วงเวลา 1 ตุลาคม 2560 - 31  มีนาคม 2561
          ครั้งที่ 2 ช่วงเวลา 1 เมษายน 2561 – 30 กันยายน 2561

    5.ประโยชน์ของระบบ ( e-budget )

        1.เพื่อใช้ในการตรวจสอบความถูกต้อง โปร่งใส ของการจัดการบริหารงบประมาณรายจ่ายของสถานศึกษา
        2.เพื่อติดตาม และประเมินผลการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา


         
 หน้าหลักของการทำงานโครงการพัฒนาระบบการรายงานข้อมูลการเงินด้านการศึกษาของสถานศึกษา

 ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน ข้อมูลบุคลากรที่ปฏิบัติงานจริง

 ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน ข้อมูลบุคลากรที่ปฏิบัติงานจริง
 ส่วนที่ 3 รายรับของโรงเรียน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561


ส่วนที่ 4 รายจ่ายของโรงเรียน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561

ส่วนที่ 5 รายงานเงินคงเหลือ ปีงบประมาณ 2561


รายงานเงินคงเหลือ ปีงบประมาณ 2561

ตัวอย่าง

 https://e-budget.jobobec.in.th/nea61_school_time0_sec0_form1.php

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ผลงานของ นางสาวกนิษฐา แซ่ลิ้ม


ชื่อนางสาวกนิษฐา     แซ่ลิ้ม
นักศึกษาปริญญาโท การบริหารการศึกษา
รุ่นที่ 3 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี
ที่ทำงานโรงเรียนบ้านหนองผือ
*******วันที่ 12 พฤษภาคม 2561*******

ค้นคว้าวิจัย จาก ERIC

The Impact of Distributed Leadership Behaviors of School Principals on the Organizational Commitment of Teachers Akdemir, Öznur Atas; ...